6/05/2011

พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.)

สรุปเหตุผลและนโยบายในการตราพระราชบัญญัติฯ ของรัฐบาลได้ดังนี้คือ

(1) เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับอันตรายความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและแน่นอน จึงต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ขึ้นมาบังคับ

(2) เพื่อให้พระราชบัญญัตินี้เป็นหลักประกันว่าผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหาย เบื้องต้นอย่างแน่นอนและทันท่วงที และเป็นหลักประกันได้ว่าสถานพยาบาลทุกแห่งจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล อย่างแน่นอนและรวดเร็วในการรับรักษาพยาบาลแต่ผู้ประสบภัยจากรถดังกล่าว

(3) เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจประกันภัย ให้มีส่วนร่วมในการแบ่งเบาค่าเสียหายของผู้ประกันภัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุจากรถ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยบรรเทาภาระความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบ ครัวแล้ว ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในด้านสวัสดิสงเคราะห์อีกด้วย

ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ)

2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ)

3. เจ้าของรถซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535กำหนดให้ระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท






ประเภทรถที่ต้องทําประกันภัย พ.ร.บ.

รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการ ขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหารที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลัง เครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ

ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.

รถที่รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.

1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด

3. รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร

4. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

ผู้มีหน้าที่รับประกันตาม พ.ร.บ.

1. ผู้ประสบภัยจากรถอันได้แก่ ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หาก ได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้

2. ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต




อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.

เนื่องจากเป็นการประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องทำประกันภัยความเสียหายสำหรับผู้ ประสบภัย รัฐจึงกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยภาคบังคับนี้ให้ต่ำที่สุดเพื่อจูงใจให้ประชาชนเข้าสู่ระบบการประกันภัย ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงภาคธุรกิจ โดยให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยของ รถเพื่อให้ธุรกิจที่รับประกันภัยประเภทนี้สามารถดำเนินการรับประกันภัยได้ด้วย จึงเป็นที่มาของหลัก No Loss No Profit คือ หลักของไม่ขาดทุนแต่ไม่ได้กำไร ซึ่งในการประกาศอัตราเบี้ยประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. กรมการประกัน ภัยมีการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริงในปัจจุบัน เป็นระยะๆ เช่น การเพิ่มและลดอัตราเบี้ยประกันภัยของรถบางประเภท หรือการเพิ่มค่าเสียหายเบื้องต้น (15,000 บาท เป็น 35,000 บาท) และค่าสินไหมทดแทนส่วนเกิน (จาก 800,000 เป็น 100,000 บาท กรณีเสียชีวิต) และ ปัจจุบันกรมการประกันภัยมีสั่งนายทะเบียนกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.เป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียวแยกตาม ประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ บริษัทไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนดได้

วิธีการจัดทำประกันภัย

1. ถ่ายเอกสารคู่มือการจดทะเบียนรถ และบัตรประจำตัวประชาชน

2. นำเอกสารไปติดต่อบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ รวมถึงสาขาของบริษัททั่ว ประเทศ แจ้งความประสงค์ของทำประกันภัยรถตามกฎหมาย

3. รับกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจะเป็นใบเสร็จรับเงินด้วย

4. รับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัย พร้อมตรวจสอบข้อมูลบนเครื่องหมายให้ถูกต้อง เช่น ชื่อบริษัทประกันภัย ชื่อรถ หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขตัวถัง ระยะเวลาสิ้นสุด และนำไปติดไว้ที่กระจกรถด้านใน หรือหากเป็นรถ ประเภทอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ต้องติดไว้ในที่ๆ สามารถเห็นไปได้ชัดเจน





บทลงโทษสําหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญิติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.-บาท ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท

เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่ เกิน 1,000 บาท

ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสีย หายเบื้องต้นตามกฎหมายนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บริษัทประกันวินาศภัยซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถบริษัทใดฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตาม กฎหมายนี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000.- บาท ถึง 250,000.- บาท

เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ หากบริษัทใดไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้อง ต้นให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาท) ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประสบภัย ต้องระวาง โทษปรับตั้งแต่ 10,000.-บาท ถึง 50,000.-บาท

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.

ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพ ในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีจำนวนเงินดังนี้

กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่ จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพจำนวน 35,000 บาท
กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท

ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น

เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยบริษัทที่ รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย เมื่อรวมกับค่า เสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว เป็นดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลรวมกับค่าสินไหมทดแทน ไม่เกิน 50,000 บาท

- กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 100,000 บาท ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่ ถ้ามี ค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตให้นำมารวมด้วย และรวมแล้วเท่ากับ 100,000 บาท

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่จ่ายค่า เสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้ มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่าย ค่าเสียหาย ฯลฯ โดยค่าเสียหายเบื้องต้นที่สามารถจ่ายได้ คือ ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บตามที่รักษาจริง ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต จำนวน 35,000 บาท แต่หากผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บและต่อ มาเสียชีวิตในภายหลัง ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่รักษาจริงไม่เกิน 15,000 บาท และ ค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท ซึ่งรวมแล้วไม่เกินจำนวน 50,000 บาท การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก กองทุนฯ ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

No comments:

Post a Comment

Search for content in this blog.

Life Insurance