6/09/2011

โครงการ"ยุวชนประกันภัย"

โครงการ"ยุวชนประกันภัย"

บทบาท ภารกิจ หน้าที่ ของสำนักงาน คปภ.
1.สำนักงาน คปภ. คือใคร
ครม. ได้มีมติให้ ยุบ กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์
และเสนอร่าง พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
จัดตั้งสำนักงาน คปภ.
- เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ
- ที่จัดตั้งโดย
พ.ร.บ.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550
ชื่อ " สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
" สังกัดกระทรวงการคลัง
- มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2550
2.โครงสร้างของ คปภ.
สำนักงาน คปภ.
มีหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
กำหนด มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์กร
สำนักงาน คปภ.
ถือเป็นหน่วยงานของรัฐองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้เบิกจ่ายงบประมาณจากรัฐแต่อย่างใด
โดยรายได้หลักขององค์กรมาจากเงินสมทบจากบริษัทประกันภัย
ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และรายได้จากการ
ดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 สำนัก 13 ฝ่าย
วิสัยทัศน์สำนักงาน คปภ.

เป็นองค์กรนำในการขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยสู่ความเป็นเลิศ
เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน
3.หน้าที่ของสำนักงาน คปภ. กระทรวงการคลัง
1. พัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีศักยภาพและขีดความสามารถพร้อมแข่งขัน
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสร้างเสริม
ความแข่งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจสังคมของ
ประเทศ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
3. สร้างความเข็มแข็ง
และพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนผู้มีสิทธิประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย
4. สถานที่/เบอร์โทรศัพท์ ที่ควรทราบ
4.1 สายด่วนประกันภัย 1186
- ตู้ ปณ.22 ปณจ.นนทบุรี
www.oic.or.th
4.2 สำนักงาน คปภ.ภาค 4 นครราชสีมา
4.3 สำนักงาน คปภ. จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ 0-4425-7203-4
โทรสาร 0-4425-7204
4.4 คปภ.ยโสธร 08-11748965
หลักการประกันภัยเบื้องต้น
ความหมายการประกันภัย
การประกันภัย คือการกระทำของบุคคลหมู่หนึ่ง
ทำการโอนความเสี่ยงภัยของสมาชิกแต่ละคนเพื่อที่จะ
กระจายไปยังสมาชิกผู้ที่ได้รับความเสียหายทุกคนหรือเฉลี่ยความเสี่ยงภัยร่วมกัน
การทำประกันภัย
คือ วิธีการกระจายความเสี่ยงภัยอย่างหนึ่ง
ที่สมาชิกทุกคนที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ
จะต้องจ่ายเงินที่เรียกว่าเบี้ยประกันภัย ให้กับกองทุน
และเมื่อมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งเคราะห์ร้าย
หรือได้รับความเสียหายตามที่กำหนด
คนนั้นจะได้รับการชดใช้จากเงินกองกลางนั้น ตามจำนวนที่ ตกลง
โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้จัดการกองทุน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย
1. พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2535
2. พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
3. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ประเภทของการประกันภัย แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การประกันชีวิต
2. การประกันวินาศภัย
หมายเหตุ เมื่อสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว
ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้เอาประกันและผู้เอาประกันภัยสามารถเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้
ประโยชน์ของการประกันภัย
- ทำให้เกิดการออมทรัพย์
- ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
- ก่อให้เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ
- ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ
- ช่วยให้การคำนวนต้นทุนใกล้เคียงต่อความเป็นจริงในการลงทุน
ประเภทของการประกันภัยรถ
การประกันภัยรถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
การประกันภัยรถภาคบังคับ หมายถึง
การประกันภัยรถ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้
ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย
โดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วย
การประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทการประกันภัยรถ


2. การประกันภัยรถภาคสมัครใจ
การประกันภัยรถภาคสมัครใจ
เป็นการประกันภัยรถที่กฎหมายไม่ได้บังคับ
ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เอาประกันภัยที่เห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตน
และมีความคิดที่จะกระจายความเสี่ยงภัยออกไปยังบุคคลอื่นคือ
การประกันภัยไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัย

รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.

รถที่ต้องทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
หรือพ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์
กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหารที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้
ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น
เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก
หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ
ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน
แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์
กำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตามพ.ร.บ.
รถที่ได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.
1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท
และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน
และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
3. รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร
4.
รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระของ
องค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

ผู้ที่ต้องทำประกันภัยและโทษของการไม่ทำประกันภัย
ผู้ที่ต้องทำประกันภัย
ตามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535หรือ พ.ร.บ.
ได้แก่
1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ)
2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ)
3. เจ้าของรถ
ซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
อนึ่ง การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ
ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535
กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ผู้ที่มีหน้าที่รับประกันภัยและโทษของการไม่รับประกันภัย
ผู้รับประกันภัยรถ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือพ.ร.บ. ได้แก่
1. บริษัทประกันวินาศภัย
ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงสาขา
ของบริษัทนั้น ๆ ทั่วประเทศ
2. บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด
(รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์)โดยมีสาขาให้บริการทั่วประเทศอนึ่ง
บริษัทใดฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามกฎหมายนี้
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่50,000 - 250,000 บาท


ผู้ที่มีหน้าที่ผู้เอาประกันภัย
- ชำระเบี้ยประกันภัย
- เปิดเผยข้อความจริง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ได้กำหนดให้ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น
เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ และให้เป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต
โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน
นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า
ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ
และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท
3. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล
จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท รวมจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน
50,000 บาท

ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น

เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ภายหลังจากการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้วโดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย
เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย/ทายาทได้รับแล้ว
เป็นดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลรวมกับค่าสินไหมทดแทน
ไม่เกิน 50,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ
จำนวน 100,000 บาท ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่
ถ้ามีค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตให้นำมารวมด้วย และรวมแล้ว
เท่ากับ100,000 บาท
3.ค่าอนามัย ( ค่าชดเชยอื่นๆตามสิทธิ)

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
มีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย
หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้
จากบริษัทประกันภัย หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย
หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้เช่น รถชนแล้วหนี
หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ
โดยค่าเสียหายเบื้องต้นที่สามารถจ่ายได้ คือ
1.
ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บตามที่รักษาจริงไม่เกิน 15,000 บาท
2. ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต จำนวน 35,000 บาท
อนึ่ง การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ
ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องยื่นภายใน 180 วัน
นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นของผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจากรถซึ่งถึงแก่ความตายตาม
พ.ร.บ. นี้ ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน
180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น
โดยสามารถขอรับได้จากผู้เกี่ยวข้องซึ่งแยก เป็น 2 กรณี คือ
1 การขอรับจากบริษัทประกันภัย
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่มีการประกันภัยไว้กับบริษัท
ให้ผู้ประสบภัยยื่นคำร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
1) ความเสียหายต่อร่างกาย
ก. ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ข. สำเนาบัตรประจำตัว
หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือ
หลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
แล้วแต่กรณี
2) ความเสียหายต่อชีวิต
ก. สำเนามรณบัตร
ข. สำเนาบัตรประจำตัว
ค. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน
2 การขอรับจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
ผู้ประสบภัยจากรถสามารถร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยตามสถานที่ต่าง
ๆ ที่กล่าวข้างต้นได้ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
1. เจ้าของรถที่เกิดความเสียหายนั้น
มิได้จัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถและเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
2. ขณะเกิดเหตุ รถนั้นมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถ
เพราะเหตุที่รถนั้นได้ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์
รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์
และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
3. ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่เกิดความเสียหาย
และรถนั้นไม่มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ
4. รถนั้นมีผู้ขับขี่หนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
5. บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถที่เกิดความเสียหาย
ไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
6. ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัยนั้นเกิดจากรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีการประกันภัยตามที่ได้กำหนดยกเว้นไว้ใน
พ.ร.บ. เช่น กรณีความเสียหายเกิดจากรถของหน่วยงานราชการต่าง ๆ
เป็นต้น
ในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20
หรือจ่ายให้ไม่ครบให้ผู้ประสบภัย
หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี
แจ้งต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พร้อมข้อเท็จจริงดังนี้
1. ชื่อบริษัทประกันภัย และหมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย
2. จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่ประสงค์ได้รับ
3. วันที่ไปยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย

กรณีที่รถต้องทำประกันภัยตามกฎหมายนี้ ไม่ทำประกันภัย
แล้วไปเกิดเหตุให้เจ้าของรถเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
หากเจ้าของไม่ยอมจ่าย
และผู้ประสบภัยไปร้องขอจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
จ่ายแทนไปแล้วจะมีคำสั่งเรียกคืนจากเจ้าของรถตามจำนวนที่จ่ายไปพร้อมกับเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบ
ซึ่งเจ้าของรถจะต้องส่งคืนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ภายใน 7 วัน
หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

ผู้มีสิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
- ผู้ประสบภัย
- ทายาทของผู้ประสบภัย
- โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ได้รับการรักษา ฯลฯ

No comments:

Post a Comment

Search for content in this blog.

Life Insurance