6/09/2011

แผนการจัดการเรียนรู้ตามโครงการยุวชนประกันภัย 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ตามโครงการยุวชนประกันภัย 2554

หน่วยการเรียนรู้ บูรณาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6

เรื่อง การประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และการประกันชีวิต จำนวน 3 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต/คุณภาพชีวิต

มาตรฐานการเรียนรู้ พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ/ชีวิต

อุบัติเหตุ และการประกันภัย

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น พ 5.1(2) เข้าใจและเห็นคุณค่ากระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัย

ให้ตนเอง ครอบครัวและชุมชนด้วยการประกันภัย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

1) รู้ เข้าใจ อธิบายความสำคัญของการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. และ การประกันชีวิต ได้

2) รู้และเข้าใจ หลักการปฏิบัติเมื่อมีเหตุประสบภัยจากรถ

3) ปฏิบัติตนหรือให้การช่วยเหลือผู้อื่นในการขอรับความคุ้มครองเมื่อประสบภัยจากรถ

สาระสำคัญ

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 เป็นการประกันภัยที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถทุกคันต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย โดยประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย ซึ่งบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองต่อความสูญเสีย หรือเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยแก่ผู้ประสบภัยจากรถ โดยผู้ประสบภัยจากรถทุกคนจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นอย่างน้อย

จุดประสงค์การเรียนรู้

1) จำแนก/อธิบายประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยภาคบังคับ การได้รับความคุ้มครอง และการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น

2) รู้แนวทางปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของตนเอง และสามารถแนะนำ ช่วยเหลือผู้อื่นในการขอรับความคุ้มครองเมื่อประสบภัยจากรถ

3) ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยรถและแนะนำผู้อื่นให้เห็นความสำคัญได้

-2-

สาระการเรียนรู้และเนื้อหา

1. การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การประกันภัยเพื่อความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ที่เอาประกันภัย และความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดจากความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยและของผู้ขับขี่รถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เจ้าของรถ จะเลือกทำประกันภัยหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เป็นเจ้าของ และ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ ประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. ที่เจ้าของรถทุกคันต้องทำประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนดทุกปีตลอดอายุของการใช้รถ ซึ่งในการเรียนการสอนระดับนี้จะมุ่งเน้นไปที่การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.

2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 กำหนดให้ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องมาจากรถได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที รวมถึงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน เช่น ค่าซ่อมรถ หรือที่เราเรียกว่า ซ่อมคนแต่ไม่ซ่อมรถ

3. การคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับ เมื่อจัดทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.

4. ค่าเสียหายเบื้องต้นที่เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต

5. การรับค่าสินไหมทดแทนกรณีทุพพลภาพถาวรจากการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.

6. กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

7. ผลของการไม่จัดให้มีการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.

การประกันชีวิต คืออะไร

การประกันชีวิต คือ การที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า “ ผู้เอาประกันภัย “ ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่าเบี้ย

ประกันภัย ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา (กรมธรรม์) ให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อซื้อความคุ้มครองตามที่

ระบุเป็นเงื่อนไขไว้ในกรมธรรม์ อาทิ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์หรือมีอายุ

ยืนยาวจนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “จำนวนเงินเอาประกันภัย”

ให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือผู้เอาประกันภัยแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เงื่อนไขความคุ้มครองจะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับ

การเลือกซื้อตามความเหมาะสมของผู้เอาประกันภัยเป็นหลัก

การประกันชีวิตมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของการประกันชีวิต คือ

1.ช่วยสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัว เช่น หากผู้นำครอบครัว

ทำประกันชีวิตไว้แล้วเกิดเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เงินประกันชีวิตที่ได้รับจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทาง

การเงินของครอบครัวได้ระยะหนึ่ง หรือหากทำประกันชีวิตเพื่อการศึกษาของลูกไว้ ลูกก็จะมีเงินใช้จ่ายเพื่อ

การศึกษาได้ต่อไป เป็นต้น

-3-

2.ช่วยให้เกิดการออมทรัพย์อย่างมีวินัยและต่อเนื่อง เพื่อการประกันชีวิตเป็นสัญญาระยะยาวและ

ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวดบางรูปแบบของการประกันชีวิตจะมีส่วนของการออมด้วยแต่จะไม่เหมือนกับการฝากเงินไว้กับธนาคารเนื่องจากการทำประกันชีวิตเป็นการซื้อความคุ้มครองเป็น

หลักดังนั้นหากมีการยกเลิกกรมธรรม์ในปีใดก็ตามระหว่างอายุสัญญางินที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนจะไม่เท่า

กับจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่จ่ายให้บริษัท เพราะส่วนหนึ่งต้องจ่ายเป็นค่าซื้อความคุ้มครอง ส่วนดีก็คือ หาก

ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายใต้เงื่อนไขทีระบุไว้ในกรมธรรม์ผู้รับประโยชน์จะไดรับเงินผลประโยชน์ตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ซึ่งมากกว่าจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายบริษัทไปแล้ว

3.การประกันชีวิตเป็นการระดมเงินทุนในรูปของเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งบริษัทสามารถนำไปลงทุน

ประกอบธุรกิจอื่นได้ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงิน การจ้าง ฯลฯ และนำมาซึ่งการ

พัฒนาประเทศ นอกจากนั้นผู้เอาประกันภัยยังสามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะ

เวลาเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไปหักเป็นค่าลดหย่อน ในการคำนวนภาษีเงินได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนด

สื่อ/นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้

1. เว็บไซด์ คปภ. www.oic.or.th/e-learning และ สายด่วนประกันภัย 1186

2. หน่วยงาน สำนักงาน คปภ.จังหวัด/ภาค/เขต ทั่วประเทศ

3. สื่อการเรียนรู้จากห้องสมุดโรงเรียน

4. ภาพข่าวอุบัติเหตุทางรถ / จากนิตยสารหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

5. สื่ออุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

6. สื่อการเรียนการสอน การประกันภัยรถตาม พ.ร.บ./ ประกันชีวิต

----

No comments:

Post a Comment

Search for content in this blog.

Life Insurance