7/19/2011

สัญญาประกันภัยมีแบบหรือไม่ ?

5. สัญญาประกันภัยมีแบบหรือไม่ ?
1. สัญญาประกันภัยนั้น กฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องมีแบบแต่อย่างใด
2. สัญญาประกันภัย เกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แม้ไม่มีหลัก ฐานเป็นหนังสือ ก็มีผลเป็นสัญญาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
3. เพียงแต่ ม.867 ว.1 กำหนดไว้ว่า สัญญาประกันภัยนั้น ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของเขาเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
4. การประกันภัยนั้น ม.867 ว.2 และ ว.3 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องออกกรมธรรม์ประกันภัย (กรมธรรม์ประกันภัยมิใช่สัญญาประกันภัย) มอบให้ผู้เอาประกันภัยยึดถือไว้ กรมธรรม์นี้จะต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกัน และมีรายการแสดงไว้ 11 รายการ
ทั้งนี้ หากข้อความไม่ครบทั้ง 11 รายการ ไม่เป็นเหตุให้สัญญาประกันภัยเสียไป

ข. ประกันภัยมีกี่แบบ ?
ประกันภัย ตามความหมายในมาตรา 861 แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบประกันวินาศภัย
เป็นการประกันความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงิน
ได้ ตามที่ได้นิยามไว้ใน ม.869 เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม อุบัติเหตุ โจรปล้น
2. แบบประกันชีวิต
เป็นการประกันความสูญเสียในชีวิตและร่างกายของบุคคลซึ่งไม่อาจ
คำนวณเป็นเงินได้ แม้บางครั้งจะเจ็บป่วยให้ต้องรักษาพยาบาลเสียเงินไป
จำนวนหนึ่งนั้น ก็ไม่ใช่ค่าของชีวิต
นอกจากนี้ ประกันวินาศภัย (บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ม.869
882) ยังจำแนกออกเป็น
- ประกันภัยในการรับขน (ม.883
886)
- ประกันภัยค้ำจุน (ม.887
888)

ค. สาระสำคัญเกี่ยวกับประกันวินาศภัย
1. วินาศภัย ตาม ม.869 หมายถึง บรรดาความเสียหายใดๆ ที่สามารถประมาณเป็นจำนวนเงินได้
2. วินาศภัย เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
(1) เกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคล
……….หมายถึงบุคคลเป็นผู้ก่อวินาศภัยขึ้น ไม่ว่าจะโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ หรือด้วยวิธีการงดเว้นการกระทำใดๆ เพื่อให้เกิดวินาศภัยนั้นขึ้น เช่น นาย ก.ขับรถไปชนรถยนต์ที่เอาประกันไว้ไม่ว่าจงใจหรือประมาท ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
(2) เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
………ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น
- เกิดจากธรรมชาติ เช่น ลมพายุ ไฟไหม้ป่า น้ำท่วม แผ่นดิน ไหว ภูเขาไฟระเบิด
- เกิดโดยสภาพ แต่ไม่ใช่การกระทำของบุคคล เช่น กำแพงที่มีอายุเก่าแก่ล้ม
- เกิดจากของตกหล่นโดยธรรมชาติ
- เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ที่กำลังจะเน่า
- เกิดจากความเสื่อมสภาพของสารเคมี
3. สัญญาประกันวินาศภัย ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องในค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์อาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน

4. ลักษณะการประกันภัยหลายรายนั้น ม.870 และ ม.871 วางหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้คือ
(1) สาระสำคัญ
- ผู้เอาประกันเป็นบุคคลคนเดียวกัน
- วัตถุแห่งประกันภัยสิ่งเดียวกัน
- เหตุแห่งความเสียหายเดียวกัน
- ผู้รับประกันภัยต่างรายกัน (มากกว่า 1 ราย)
- ระยะเวลาคุ้มภัยเดียวกัน
(2) สัญญาประกันภัยทั้งหลายลงวันที่เดียวกัน ให้ถือว่าทำพร้อมกัน
………เมื่อนำเงินซึ่งเอาประกันมารวมกันแล้ว มากกว่าค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ผู้รับประโยชน์จะได้รับค่าสินไหมเพียงเท่าค่าความเสียหายเท่านั้น โดยผู้รับประกันภัยแต่ละรายแบ่งความรับผิดตามส่วนที่รับประกันไว้
(3) สัญญาประกันภัยทั้งหลายทำสืบเนื่องกันเป็นลำดับกัน
……….ผู้รับประกันรายแรกต้องรับ
ผิดเพื่อความวินาศภัยก่อน ถ้ายังไม่พอกับค่าเสียหายอยู่เท่าใด ให้เรียกเอาจากผู้รับประกันรายถัดไป
เช่นนี้จนกว่าจะคุ้มวินาศภัย
(4) การทำสัญญาประกันภัยหลายราย ไม่ว่ากรณีใด ถ้าผู้เอาประกันภัยยอมสละสิทธิเรียก
ร้องแก่ผู้รับประกันรายใด การชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นอันระงับไปเฉพาะรายนั้น ผู้รับประกันภัย
รายอื่นยังต้องชำระค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนต่อไป
5. ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิได้รับการชำระค่าเบี้ยประกันครึ่งหนึ่งตามสัญญาจากผู้เอาประกันภัย (ม.872)
6. ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย ปรากฏว่ามูลประกันภัยได้ลดน้อยถอยลง ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย และขอลดจำนวนเงินเบี้ยประกันภัย (ม.873)
7. คู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ และต่อมาพิสูจน์ได้ว่าราคาที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินไป ผู้รับประกันภัยมีสิทธิขอลดค่าสินไหมทดแทน และคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันได้ตามส่วนพร้อมดอกเบี้ย (ม.874)
8. ถ้าวัตถุที่เอาประกันไว้ต้องเปลี่ยนการครอบครองไปอยู่กับผู้อื่น จะโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยผลของกฎหมายก็ดี สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย (ม.875)
……แต่ถ้าวัตถุที่เอาประกัน ภัยนั้น เมื่อโอนไปอยู่กับบุคคลอื่นแล้ว เป็นผลให้การใช้วัตถุที่เอาประกันนั้นเปลี่ยนแลงไปและมีเสี่ยงภัยมากขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาประกันภัยนั้นเป็นโมฆะ
9. กรณีที่ผู้รับประกันต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิเลือกจัดการกับสัญญาประกันภัยของตนได้ 2 ประการ คือ เรียกให้หาผู้รับประกันภัยรายใหม่ หรือบอกเลิกสัญญาประกัน
ภัยนั้น (ม.876 ว.1)
10. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้นเสีย เว้นแต่ ผู้เอาประกันภัยได้ส่งเบี้ยประกันครบแล้ว ผู้รับประกันจะบอกเลิกสัญญาไม่ได้ (ม.876 ว.2)
10. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการตีราคาวินาศภัย ผู้รับประกันรับผิดชอบ (ม.878)
11. เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น มีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย (ม.879) คือ
(1) เหตุวินาศภัยนั้นเกิดเพราะความทุจริตของผู้เอาประกันภัย
(2) เหตุวินาศภัยนั้นเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
12. กรณีที่วินาศภัยนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อผู้รับประกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันไปจำนวนเท่าใด ผู้รับประกันย่อมมีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอก เพื่อจะไปเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกนั้น (ม.880)
13. อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน (ม.882) กำหนดไว้ว่า
(1) กรณีเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
(2) กรณีเรียกให้ใช้เงินประกันภัยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิจะเรียกให้ใช้
(3) กรณีเรียกให้คืนเบี้ยประกันภัยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิจะเรียกให้คืน

.
Life Insurance Knowledge:Life Insurance , private, death, employee pensions and annuities,life insurance, educational, life insurance companies

No comments:

Post a Comment

Search for content in this blog.

Life Insurance