7/18/2011

หลักสำคัญในกฎหมายประกันภัย

หลักสำคัญในกฎหมายประกันภัย

1. หลักส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย
ม. 863 บัญญัติว่า “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วน
ได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรานี้กำหนดให้ผู้เอาประกันต้องมีความสัมพันธ์กับทรัพย์สินที่เอาประกันไว้หรือมีความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้ที่ตนเอาประกันไว้ ถ้ามีวินาศภัยหรือความตายเกิดขึ้นจะมีผลกระทบมาถึงผู้เอาประกัน ที่บัญญัติเช่นนี้เพื่อเป็นการป้องกันการจงใจก่อให้เกิดวินาศภัย แก่ทรัพย์ที่เอาประกัน หรืออันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้เอาประกันชีวิต เพื่อที่จะมีสิทธิรับเงินประกัน
ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย หมายถึง เมื่อมี เหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้ใดมีส่วนที่จะได้รับประโยชน์หรือมีส่วนที่จะต้องเสียหายในเหตุการณ์นั้น ผู้นั้นย่อมมีส่วนได้เสีย สามารถเอาประกันภัยในเหตุการณ์นั้นได้ เช่น ดำเป็นเจ้าของบ้าน แดงเป็นผู้เช่าบ้าน เขียวเป็นผู้รับจำนอง ถ้าบ้านถูกไฟไหม้ ทั้งดำและแดงถูกกระทบกระเทือนจากเหตุนั้น เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์นั้น จึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ส่วนได้เสีย แยกเป็น 2 กรณี คือ
1. ส่วนได้เสียในกรณีประกันวินาศภัย
2. ส่วนได้เสียในกรณีประกันชีวิต

ส่วนได้เสียซึ่งอาจเอาประกันได้
ก. กรณีประกันวินาศภัย
ม. 869 บัญญัติว่า “คำว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความ
เสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้”
ส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันได้ มีลักษณะสำคัญ คือ ความเสียหายนั้นต้องประเมินเป็นเงินได้ เช่น ทรัพย์สิน สิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ใดๆ

ข. กรณีประกันชีวิต
สิทธิหน้าที่ของบุคคลพึงมีต่อกันตามกฎหมายหรือตามสัญญา ถือเป็นส่วนได้
เสียที่เอาประกันได้ เช่น สามี-ภรรยา มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ม. 1461 บัญญัติว่า “สามีต้องอยู่กินฉันสามีภรรยา สามีภริยาต้องอุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน” เป็นความสัมพันธ์ทางครอบครัว ดังนั้นหากมีการตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย่อมกระทบอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแน่นอน นายจ้าง-ลูกจ้างมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายและตามสัญญาต่อกันอันเกิดจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ย่อมเอาประกันชีวิตกันได้

ความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นเพียงความหวังถือเป็นส่วนได้เสียได้หรือไม่ มีข้อพิจารณาดังนี้
1. ความหวังระยะใกล้ที่ค่อนข้างแน่นอน อาจถือเป็นส่วนได้เสียที่เอาประกันภัยได้ เช่น
ประกันภัยค่านายหน้าที่หวังจะได้รับตามสัญญา ประกันภัยสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยเมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้าง
2. ความหวังในระยะไกลซึ่งไม่แน่นอน เช่น ทายาทโดยธรรมของเจ้าของทรัพย์ นำทรัพย์
ของเจ้ามรดกไปประกันภัยไม่ได้เพราะถือว่าไม่มีส่วนได้เสีย หรือการที่นายเหลืองจะเอาประกันภัยบ้านที่ตนคาดว่าจะซื้อในอีก 6 เดือน หรือ นายเหลืองตั้งใจจะแต่งงานกับน.ส.เขียวในอนาคตย่อมเอาประกันชีวิตของน.ส. เขียวไม่ได้ สรุปได้ว่าความสัมพันธ์ในลักษณะความคาดหวังฝ่ายเดียวหรือความหวังที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลแล้วแต่เขาจะกรุณาหรือไม่ เอาประกันไม่ได้
Life Insurance Knowledge:Life Insurance , private, death, employee pensions and annuities,life insurance, educational, life insurance companies

No comments:

Post a Comment

Search for content in this blog.

Life Insurance